GRID FRAME “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์”

คํานํา

รูปภาพภายนอกอาคารที่มองเห็นจากฝั่งตรงข้ามของแยกนี้ ป้ายแบนเนอร์รูปสัตว์ที่วาดเป็นสีขาวดำปรากฏอยู่บนโครงแบบตะแกรงสเตนเลสที่คลุมโครงสร้างคอนกรีตไว้
รูปภาพภายนอกอาคารที่มองเห็นจากฝั่งตรงข้ามของแยกนี้ ป้ายแบนเนอร์รูปสัตว์ที่วาดเป็นสีขาวดำปรากฏอยู่บนโครงแบบตะแกรงสเตนเลสที่คลุมโครงสร้างคอนกรีตไว้

เป็นโครงแบบตะแกรงสเตนเลสที่คลุมโครงสร้างคอนกรีตของอาคาร Ginza Sony Park แห่งใหม่
และสร้างเขตแดนที่สบายๆ ให้กับย่านนี้
เป็นทั้งส่วนหน้าของอาคาร และมีส่วนต่อประสานที่ปรับให้เป็นโครงสร้างที่รองรับกิจกรรมที่หลากหลาย

เราจะสามารถสื่อสารอะไรได้บ้าง
ที่หัวมุมของแยกซูกิยาบาชิในกินซ่าซึ่งมีผู้คนสัญจรไปมาหลายแสนคนทุกวัน

เราเชื่อว่าอาคาร Ginza Sony Park ที่เริ่มท้าทายสิ่งใหม่ๆ ในฐานะ “สวนแห่งกินซ่า” นี้
จะสามารถสร้างโอกาสในการตรึกตรองถึงปัจจุบันและอนาคต
ผ่าน “สถานที่” แห่งนี้ได้

เป็นหนังสือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของบริษัท O'Reilly ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของวิศวกรทั่วโลกนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1978 หนังสือยังเป็นที่คุ้นเคยกันในชื่อ “Animal Book (หนังสือเกี่ยวกับสัตว์)” เนื่องจากมีสัตว์หลากหลายชนิดปรากฏอยู่บนหน้าปก และหนังสือหลายเล่มดังกล่าวได้วาดภาพของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ไว้ เราได้รับแรงบันดาลใจจากกิจกรรมอันอ่อนโยนแต่กล้าหาญของ O'Reilly ที่ต้องการให้ผู้คนทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสัตว์ต่างๆ ผ่าน “สถานที่” อย่างหน้าปก อาคาร Ginza Sony Park จึงกำหนดให้ “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์” เป็นธีมสำหรับโครงการในครั้งนี้

เราได้รับข้อความจากคุณ Tim O'Reilly ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO ของ O'Reilly เกี่ยวกับการดำเนินงานของเราในครั้งนี้

The covers of the O'Reilly books about computer programming are one of the most iconic brands in publishing – just one more example of the unexpected and unaccounted for economic impacts of nature. Every endangered species we lose lessens not only the richness of our natural heritage but also its cultural and economic value.
Many of the animals on the covers of O’Reilly books are from 19th century engravings, a time when these animals were plentiful. Today, between habitat destruction, hunting, poaching, human/animal conflicts, and the illegal wildlife trade, many species that were abundant 100 years ago are teetering on the brink of extinction. Highlighting these animals on the cover of O’Reilly books has helped to raise awareness of the challenges faced by these creatures.

Tim O'Reilly / Founder and CEO, O'Reilly Media

สัตว์ใกล้สูญพันธุ์

มีพืชและสัตว์หลากหลายมากกว่า 1.75 ล้านชนิดที่เป็นที่รู้จักบนโลก และมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ถูกค้นพบ ซึ่งคาดว่าจำนวนทั้งหมดเหล่านั้นอยู่ระหว่าง 5 ล้านถึง 30 ล้านชนิด
ในทางกลับกัน มีสัตว์มากมายที่หายไปจากโลกและกลายเป็นสัตว์ “สูญพันธุ์” กล่าวกันว่ามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 5,500 ชนิดทั่วโลก ในจำนวนนั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 1,200 ชนิดถูกเรียกว่า “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์” และมีความกังวลว่าจะสูญพันธุ์ และเช่นเดียวกันนี้ นกประมาณ 1,500 ชนิดจากนกทั้งหมดราว 10,000 ชนิดถูกกำหนดว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
โลกแห่งสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการ “กินกับถูกกิน” ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ นี้เรียกว่า “ระบบนิเวศ” และสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์ได้อาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่สมดุลนี้
สาเหตุที่สัตว์เหล่านี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ก็เนื่องมาจากความสมดุลของระบบนิเวศถูกทำลายเพราะการทำลายดำเนินไปอย่างรวดเร็วในอัตราที่เกินกว่าความสามารถในการฟื้นตัวของธรรมชาติ และสาเหตุหลักของการทำลายความสมดุลดังกล่าวคือกิจกรรมของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่จะสามารถปกป้องเหล่าสิ่งมีชีวิตจากอันตรายได้

  • ภาพประกอบรูปสัตว์ วาดเป็นภาพขาวดำของเสือดาวหิมะ
    เสือดาวหิมะ
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panthera (Uncia) uncia
    บัญชีแดงของ IUCN:VU
    การจำแนกประเภท:
    วงศ์ Felidae (เสือและแมว) อันดับ Carnivora (สัตว์กินเนื้อ)
    การกระจายตัว:
    เอเชียตอนกลาง (มองโกเลียถึงเทือกเขาหิมาลัย)
    ความยาวลำตัว:
    86-125 ซม.
    ความยาวหาง:
    80-105 ซม.
    น้ำหนัก :
    22-55 กก.
    จำนวนโดยประมาณ:
    7,466-7,996 ตัว (ปี 2016)

    พวกมันกระจายตัวอยู่ในที่ราบสูงของเอเชียตอนกลาง ทั้งตัวปกคลุมไปด้วยขนหนาและทนต่อความหนาวเย็นอันรุนแรงได้ พวกมันออกหากินในเวลาที่ฟ้ามืดสลัวและสัตว์ที่เป็นเหยื่อคือแพะป่า แกะ นก หนู และกระต่าย ฯลฯ
    ความเสี่ยงใหญ่ที่สุดที่ทำให้จำนวนลดลงคือจำนวนสัตว์ที่เป็นเหยื่อลดลงเนื่องจากการพัฒนาที่ดิน ฯลฯ อีกทั้งแม้จะมีการห้ามค้าขนสัตว์ แต่การลักลอบล่าสัตว์ก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถิ่นที่อยู่ของพวกมันอยู่ใกล้กับบ้านของมนุษย์ พวกมันอาจล่าปศุสัตว์ต่างๆ เป็นแหล่งอาหารหลักในฤดูหนาว ทำให้อาจถูกจับและฆ่าโดยผู้อยู่อาศัยได้ กิจกรรมการอนุรักษ์ที่คำนึงถึงการอยู่ร่วมกับมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

  • ภาพประกอบรูปสัตว์ วาดเป็นภาพขาวดำของเพนกวินแอฟริกัน
    เพนกวินแอฟริกัน
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spheniscus demersus
    บัญชีแดงของ IUCN:EN
    การจำแนกประเภท:
    วงศ์ Spheniscidae (เพนกวิน) อันดับ Sphenisciformes (เพนกวิน)
    การกระจายตัว:
    พื้นที่ชายฝั่งทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา
    ความยาวรวม:
    68 ซม.
    จำนวนโดยประมาณ:
    50,000 ตัว (ปี 2015)

    พวกมันร้องด้วยเสียงที่อึกทึกเหมือนกับเสียงร้องของลา ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีจำนวนมากถึงหลายล้านตัว ในปี 1930 มีประมาณ 3 ล้านตัวอาศัยอยู่บนเกาะแดสเซนซึ่งเป็นแหล่งขยายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดบนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของแอฟริกาใต้ แต่ในปี 1963 จำนวนได้ลดลงเหลือ 140,000 ตัว สาเหตุคือการเก็บไข่ ฯลฯ อย่างผิดกฎหมายในพื้นที่ขยายพันธุ์
    เริ่มตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 นกทะเลจำนวนมากรวมถึงสัตว์ชนิดนี้ตายเนื่องจากน้ำมันดิบรั่วที่เกิดจากอุบัติเหตุทางเรือ นอกจากนี้ ด้วยการพัฒนาวิธีการทำประมงขนาดใหญ่จึงทำให้พวกมันมาติดอวนลอยกลางน้ำและตายเป็นจำนวนมาก และปลาจำนวนมาก เช่น ปลาแอนโชวีซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพวกมันก็ถูกมนุษย์แย่งไป จำนวนของพวกมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และในปี 2010 อันดับก็ถูกเพิ่มขึ้นจาก RL=VU (มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์) เป็น EN (ใกล้สูญพันธุ์)

  • ภาพประกอบรูปสัตว์ วาดเป็นภาพขาวดำของวอลรัส
    วอลรัส
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Odobenus rosmarus
    บัญชีแดงของ IUCN:VU
    การจำแนกประเภท:
    วงศ์ Odobenidae (วอลรัส) อันดับ Carnivora (สัตว์กินเนื้อ)
    การกระจายตัว:
    พื้นที่ชายฝั่งอาร์กติก
    ความยาวรวม:
    2.7-3.6 เมตร (ตัวผู้),
    2.2-3.1 เมตร (ตัวเมีย)
    น้ำหนัก :
    800-1,700 กก. (ตัวผู้),
    400-1,250 กก. (ตัวเมีย)
    จำนวนโดยประมาณ:
    225,000 ตัว

    พวกมันอาศัยอยู่เป็นกลุ่ม ชอบขึ้นไปบนชายหาดเพื่ออาบแดด และดำน้ำหาอาหาร พวกมันจะใช้หนวดรอบปากเพื่อคลำหาในทรายของก้นมหาสมุทรและกินหอยสองฝา ฯลฯ
    ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18-20 เขี้ยวยักษ์ (ฟันเขี้ยว) ของกรามบนเพดานปากซึ่งมีความยาวได้ถึง 1 เมตรถูกนำมาใช้ในงานฝีมือ อีกทั้งพวกมันยังถูกล่าอย่างหนักเพื่อเอาเนื้อสำหรับบริโภคและหนัง วอลรัสสามารถป้องกันตัวเองจากศัตรูและเลี้ยงลูกได้อย่างปลอดภัยด้วยการปีนขึ้นไปหลบบนแผ่นน้ำแข็งลอย ดังนั้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขนาดน้ำแข็งในทะเลที่หดเล็กลงเนื่องจากภาวะโลกร้อนจึงกลายเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของพวกมัน

  • ภาพประกอบรูปสัตว์ วาดเป็นภาพขาวดำของแทสเมเนียนเดวิล
    แทสเมเนียนเดวิล
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sarcophilus harrisii
    บัญชีแดงของ IUCN:EN
    การจำแนกประเภท:
    วงศ์ Dasyuridae (สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องกินเนื้อ) อันดับ Dasyuromorphia (สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องกินเนื้อ)
    การกระจายตัว:
    ออสเตรเลีย (เกาะแทสเมเนีย)
    ความยาวลำตัว:
    57-65 ซม.
    ความยาวหาง:
    24.5-26 ซม.
    น้ำหนัก:
    5-8 กก.
    จำนวนโดยประมาณ :
    10,000 ตัว (ปี 2007)

    พวกมันอาศัยอยู่ในป่าและพื้นที่รกร้าง โดยจะพักอยู่ในโพรงใต้ดินในช่วงเวลากลางวันและออกหากินในเวลากลางคืน ล่าเหยื่อจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก แมลง และนก ฯลฯ กล่าวกันว่าพวกมันอาศัยอยู่ในเกาะหลักของออสเตรเลียเมื่อประมาณ 400 ปีก่อน แต่จำนวนลดลงหลังจากถูกล่าโดยหมาป่าดิงโกที่มนุษย์นำมา และปัจจุบันพวกมันอาศัยอยู่บนเกาะแทสเมเนียเท่านั้น
    ในเวลาต่อมา พวกมันถูกกำจัดในฐานะสัตว์อันตรายที่คุกคามปศุสัตว์ ฯลฯ แต่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในปี 1941 อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษ 1990 โรคเนื้องอกใบหน้าปีศาจเริ่มแพร่กระจายทำให้พวกมันมีจำนวนลดลงมากกว่า 60% โรคนี้เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เนื้องอกสามารถแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสระหว่างกัน และทำให้พวกมันไม่สามารถกินอาหารได้ โครงการอนุรักษ์เริ่มขึ้นในปี 2003 แต่คาดว่าจะต้องใช้เวลาในการรักษาด้วยวัคซีน และคาดการณ์ว่าจำนวนจะลดลงมากกว่า 60% ในอีก 10 ปีข้างหน้า

  • ภาพประกอบรูปสัตว์ วาดเป็นภาพขาวดำของอีกัวนาบกกาลาปากอส
    อีกัวนาบกกาลาปากอส (อีกัวนาบก)
    ชื่อวิทยาศาสตร์: Conolophus subcristatus
    บัญชีแดงของ IUCN:VU
    การจำแนกประเภท:
    วงศ์ Iguanidae (อีกัวนา) อันดับ Squamata (กิ้งก่าและงู)
    การกระจายตัว:
    เอกวาดอร์ (หมู่เกาะกาลาปากอส)
    ความยาวรวม:
    80-110 ซม.
    จำนวนโดยประมาณ:
    ไม่แน่ชัด

    พวกมันออกหากินบนพื้นดินและอาศัยอยู่ในที่ราบต่ำที่แห้ง โดยกินผลและดอกของกระบองเพชรพริกลีแพร์เป็นหลัก รวมถึงแมลง ปู ฯลฯ
    พวกมันยังคงถูกล่าเพื่อเป็นอาหารและได้รับการคุกคามจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอย่างต่อเนื่อง ตัวที่ยังอ่อนวัยจำนวนมากตกเป็นอาหารของสุนัขป่าและแมวป่า และพืชซึ่งเป็นอาหารของพวกมันก็ถูกแพะป่ากิน แต่ปัจจุบันสัตว์ที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นจำนวนมากได้ถูกกำจัดไปแล้ว จำนวนจึงอยู่ในแนวโน้มฟื้นฟู สกุล Conolophus (โคโนโลฟัส) ทั้ง 3 ชนิดรวมถึงชนิดนี้เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในหมู่เกาะกาลาปากอส ในจำนวนนั้นอีกัวนาสีชมพู (C. Marthae) ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะอิซาเบลาเท่านั้นถูกจัดแยกเป็นชนิดอิสระในปี 2009 และเหลืออยู่เพียงประมาณ 200 ตัวเท่านั้น โดยจัดอยู่ในอันดับ RL=CR (ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง) และอยู่ในสถานการณ์วิกฤต

  • ภาพประกอบรูปสัตว์ วาดเป็นภาพขาวดำของม้าลายเกรวี
    ม้าลายเกรวี
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Equus grevyi
    บัญชีแดงของ IUCN:EN
    การจำแนกประเภท:
    วงศ์ Equidae (ม้า) อันดับ Perissodactyla (สัตว์กีบคี่)
    การกระจายตัว:
    แอฟริกาตะวันออก
    ความยาวลำตัว :
    250-300 ซม.
    ความสูงลำตัว:
    140-160 ซม.
    น้ำหนัก:
    352-450 กก.
    จำนวนโดยประมาณ:
    ไม่เกิน 2,000 ตัว (ตัวโตเต็มวัย)

    เป็นม้าป่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและกระจายตัวอยู่ในเคนยาและเอธิโอเปีย เมื่อเปรียบเทียบกับม้าลายชนิดอื่น พวกมันมีจุดเด่น เช่น ลายเส้นบนตัวที่บางกว่า
    การลักลอบล่าสัตว์และการล่าเอาขนมากเกินไป การพัฒนาในถิ่นที่อยู่อาศัย และความแห้งแล้งทำให้จำนวนของพวกมันลดลง และมีการห้ามล่าสัตว์ในเคนยาเมื่อปี 1976 แม้ว่าจำนวนจะลดลงจากประมาณ 15,600 ตัวในปลายทศวรรษ 1970 เหลือประมาณ 2,000 ตัวในปี 2004 แต่ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของจำนวนตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันมีความกังวลว่าการสูญเสียพื้นที่หาอาหารและการลดลงของแหล่งน้ำที่มีอยู่เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของโคเลี้ยง ฯลฯ อาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มหรือลดของจำนวน อีกทั้ง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบไม่มีข้อจำกัดยังส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อพฤติกรรมของพวกมันอีกด้วย

บัญชีแดงของ IUCN
บัญชีแดงที่เผยแพร่โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) แสดงให้เห็นสถานะปัจจุบันของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายตั้งแต่สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไปจนถึงพืชโดยอิงตามมาตรฐานเชิงค่าตัวเลข เช่น การกระจายตัว จำนวน และแนวโน้ม รวมทั้งประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางของกิจกรรมการอนุรักษ์ทั่วโลก
บัญชีแดงแสดงระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของชนิดตามอันดับ (หมวดหมู่) อันดับจะถูกกำหนดตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น ขนาดของถิ่นที่อยู่อาศัย, การคาดคะเนและระดับการลดลงของถิ่นที่อยู่อาศัย, จำนวนสัตว์ และในจำนวนนั้นจะเรียกชนิดที่อยู่ในอันดับ CR, EN และ VU ว่า “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์”
EX[Extinct]/EW[Extinct In The Wild]/CR[Critically Endangered]/EN[Endangered]/VU[Vulnerable]/NT[Near Threatened]/LC[Least Concern]

ปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เกิดวิกฤตการสูญพันธุ์

  • การสูญเสียหรือการแตกกระจายของถิ่นที่อยู่อาศัย
    ป่าทั่วโลกถูกตัดโค่นเนื่องจากมีการพัฒนาเพื่อที่อยู่อาศัย พื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังกำลังเกิดการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ทะเลสาบและบึง เนื่องจากการถมที่ดินเพื่อการพัฒนาและความแห้งแล้ง ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำอันเนื่องมาจากภัยแล้งที่เกิดจากภาวะโลกร้อนและไฟป่าที่เกิดจากการความแห้งแล้งยังได้ทำลายถิ่นที่อยู่และอาหารของสัตว์ป่าอีกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สูญเสียถิ่นที่อยู่จะถูกแยกออกเป็นกลุ่มและสูญพันธุ์ในท้องถิ่นในที่สุด
  • การลับลอบล่าสัตว์และการล่าสัตว์มากเกินไป
    การล่าสัตว์มากเกินไป หมายถึงการจับหรือรวบรวมสัตว์ที่มากเกินไปเพื่อแสวงหาส่วนต่างๆ ของสัตว์ที่มีคุณค่าและหายาก เช่น เนื้อสำหรับบริโภค ขน และเขา เมื่อมีการล่าสัตว์มากเกินไปจนเกินความสามารถในการฟื้นตัวของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตก็เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์และความสมดุลของโลกธรรมชาติก็จะพังทลายลงเช่นกัน
  • มลภาวะของสิ่งแวดล้อมริมน้ำ
    เมื่อแม่น้ำน้ำจืดและพื้นที่ชุ่มน้ำปนเปื้อนด้วยยากำจัดศัตรูพืชหรือน้ำเสียจากอุตสาหกรรม สารอันตรายอาจยังคงอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่นั่น สารที่เป็นอันตรายสามารถสะสมอยู่โดยเฉพาะในร่างกายของสัตว์นักล่า นอกจากนี้ ขยะยังสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรได้โดยตรง
  • การบุกรุกของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
    เราเรียกสัตว์ เช่น สัตว์เลี้ยงที่มนุษย์นำมาจากสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่เดิมได้หลบหนีและขยายพันธุ์ในป่าว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เมื่อชนิดพันธุ์ต่างถิ่นแข็งแกร่งกว่าสัตว์ที่อาศัยอยู่เดิม (ชนิดพันธุ์พื้นเมือง) ถิ่นที่อยู่และอาหารของพวกมันอาจถูกแย่งไป
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
    การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศส่งผลให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นกว่าในอดีต โรคติดเชื้อแพร่กระจายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือปะการังตายในมหาสมุทร โดยเฉพาะหมีขั้วโลกซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อาร์กติกก็กำลังเผชิญกับการลดลงอย่างมากของพื้นผิวน้ำแข็งในทะเลที่เป็นถิ่นที่อยู่ของพวกมันเนื่องจากภาวะโลกร้อน
  • โรคติดเชื้อ
    มีสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากโรคติดเชื้อด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เชื้อราไคทริดและรานาไวรัส ทำให้สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตายเป็นจำนวนมาก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการพัฒนาของระบบขนส่ง ทำให้ผู้คนและสิ่งของมีการเคลื่อนย้ายไปมาอย่างรวดเร็วและในปริมาณมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และโรคติดเชื้อที่ไม่มีอยู่ในป่าแต่เดิมก็แพร่กระจายไปทั่วโลกผ่านทางผู้คนและสิ่งของ
*ข้อมูลที่ระบุเป็นข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2024

ที่มา (“สัตว์ใกล้สูญพันธุ์” “ปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เกิดวิกฤตการสูญพันธุ์”): “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ Gakken No Zukan LIVE POCKET”

เพื่อสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ของหนังสือภาพ
การเรียนรู้คือการพบกับโลกใหม่
มีไดโนเสาร์ที่ไม่รู้จัก แมลงตัวเล็กๆ แปลกตา และแม้แต่สัตว์ที่น่ากลัวเล็กน้อย
เมื่อเปิดหนังสือภาพและมองดูโลกที่คุณไม่รู้จัก การผจญภัยที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นของคุณก็เริ่มต้นขึ้น
เรียนรู้จากหนังสือภาพได้อย่างอิสระมากขึ้นในรูปแบบใหม่
ด้วยการใช้วิธีการและเทคโนโลยีทั้งหมดที่ไม่เคยมีมาก่อนของเรา จึงเติมเต็มความปรารถนาที่ต้องการรู้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่
©Gakken